SDG ด้านที่ 17 ข้อคำถามที่ 17.4.3
มหาวิทยาลัยของท่านมีกิจกรรม outreach ให้กับชุมชนหรือสังคมที่เกี่ยวข้องกับ SDGs หรือไม่? (กิจกรรมอาจจะทำให้กับศิษย์เก่า คนในชุมชนต่างๆ หรือ ผู้ผลัดถิ่น เป็นต้น)
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีระยอง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด และบริษัทเทลสกอร์ จำกัด ได้ตระหนักถึงการประยุกต์การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและกลยุทธ์การตลาด เพื่อทำโจทย์แผนการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสได้ศึกษาพร้อมทำจริง แผนการตลาดโดยใช้สื่อดิจิทัล และความสำเร็จของแผนจากการทำจริงในมหาวิทยาลัย สร้างแคมเปญทางสังคมด้วยอินฟลูเอ็นเซอร์ ในการจัดกิจกรรม Young Influencers Challenge Thailand 2023 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโปรโมทส่งเสริมการตลาด และเพิ่มยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในโครงการชุมชนยิ้มได้ โดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายในการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้า จำนวน 3 ชนิด คือ น้ำปลาหวานมะดัน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปมะดันตำบลท่าทราย จังหวัดนครนายก คุกกี้ไส้สับปะรดโกลเด้นซู ของวิสาหกิจชุมชนประจวบอินเตอร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกล้วยเส้น (Banana Snack) ของกลุ่มชวนน้องออมถวายพ่อหลวง จังหวัดเลย
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล็งเห็นความสำคัญถึงการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางการตลาด และเกิดประโยชน์แก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงประสงค์จัด “โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและธุรกิจชุมชนเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” เพื่อเป็นพื้นที่ให้นิสิตได้แสดงศักยภาพและทักษะด้านธุรกิจพร้อมสร้างสรรค์ผลงานและผลักดันสู่ธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้นิสิตนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม
การดำเนินการ
ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพและธุรกิจชุมชนเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดำเนินงานพบว่า สามารถพัฒนาธุรกิจชุมชน และเพิ่มยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทั้ง 3 ชนิด คือ น้ำปลาหวานมะดัน คุกกี้ไส้สับปะรดโกลเด้นซู และกล้วยเส้น (Banana Snack) ใน 3 ชุมชน