ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
logo
สถานที่ตั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และ ความรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 2 Kasetsart University Value Creation & Innovation for Professionals and Sustainability (KU VIPS 2)

SDG17 : ความร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.4.2 have dedicated courses (full degrees, or electives) that address sustainability and the SDGs?
มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ SDGs หรือไม่? (อาจะเป็นหลักสูตร หรือวิชาเลือก)

 

วัตถุประสงค์ : 

  1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การดำเนินกลยุทธ์ ด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และ ความยั่งยืนองค์กร
  2. เพื่อนำแนวคิดนวัตกรรมสังคม มาแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคม และความยั่งยืนในทุกมิติ
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมสังคม ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

 

ว/ด/ป และสถานที่จัด :  ประมาณ 4 เดือน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 19 เมษายน – วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 โดยมีเวลาเรียนปกติทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 – 17.00 น. ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

กลุ่มเป้าหมาย : ภาครัฐ ภาคประชาชน บุคคลซึ่งคณะกรรมการอำนวยการหลักสูตรฯ เชิญให้เข้ามาศึกษามีผลงานเป็นที่ประจักษ์หรือเป็นผู้ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยต่อไป (บุคคลในข้อนี้อาจได้รับยกเว้นคุณสมบัติเรื่องอายุและการศึกษา) หรือบุคคลที่หน่วยงานที่เป็นภาคีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งเข้ามาเรียน

จำนวนผู้เข้าร่วม : 38 คน

ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และ ความรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 2 โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาอบรม แบ่งเป็น 1) การบรรยาย/อภิปรายในห้องเรียนตามหัวข้อวิชาที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มวิชา 2) การเสริมสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์ โดยเน้นกรณีศึกษาเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ (cased based and area based) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาดูงานครั้งที่ 1 (ในประเทศ)  จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาดูงานครั้งที่ 2  (ต่างประเทศ) ณ ประเทศญี่ปุ่น ภูมิภาคคันไซ 3) การจัดทำรายงานการสร้างคุณค่าองค์กรด้วยนวัตกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน และ การนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ 4) การเข้าร่วมกิจกรรม CSR และกิจกรรมสัมพันธ์ การดำเนินงานพบว่า สามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ เพื่อให้ผู้ประกอบการ และ ผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ นำความรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนไปปฏิบัติและบูรณาการกับบริหารจัดการองค์กรอย่างจริงจัง อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดของประเทศต่อไป