SDG ด้านที่ 17 ข้อคำถามที่ 17.4.2
มหาวิทยาลัยของท่านมีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและSDGs หรือไม่? (อาจะเป็นหลักสูตร หรือวิชาเลือก)
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นว่าเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากของประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็น พื้นฐานของการบริหาร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงามอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยการพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนให้มีศักยภาพ มีความพร้อมด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ เพื่อเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำเด็กและเยาวชนจะเป็นประเด็นความสนใจที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการวิจัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน และส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการอื่นในการแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชน
สร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและความเข้มแข็งของชุมชน
คณะสังคมศาสตร์ ได้กำหนดจัดกิจกรรมให้ตรงตามเป้าหมายของภารกิจด้านวิจัยและบริการวิชาการ และเพื่อสร้างความร่วมมือกันระหว่างคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการออกไปสู่สังคมก็เป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของคณะสังคมศาสตร์ จึงได้จัด “โครงการความร่วมมือทางบริการวิชาการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านวิจัยและวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางตรงและทางอ้อมในการร่วมมือพัฒนาความรู้ด้านวิชาการ และผู้ที่เข้ารับฟังสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมไปสู่ความมั่งคงและยั่งยืนต่อไป
การจัดกิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมทับทิมสยาม อาคาร 1 ชั้น 5 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอบรม จำนวน 240 คน
วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม
การดำเนินการ (บอกว่าทำอะไร)
การบรรยาย/อภิปราย
เวลา 08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.45 น. พิธีเปิดงาน
เวลา 09.00 – 10.00 น. Show case นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพิทักษ์คุ้มครองเด็กและเยาวชน
เวลา 10.00 – 11.00 น. เวทีแลกเปลี่ยนงานวิจัยประเด็นเด็กและเยาวชนสำหรับคณาจารย์ นักวิจัย
และบุคลากร
เวลา 11.00 – 12.00 น. แนะแนวอาชีพและแหล่งทุนการศึกษา
เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้สร้างความร่วมมือกันของบุคลากรภายในหน่วยงาน คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมทางสังคม ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนางานวิจัย งานวิชาการบุคลากร องค์กร และแนะแนวทางส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม