ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
logo
สถานที่ตั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กิจกรรม workshop “รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาชนบท”

   SDG ด้านที่  17  ข้อคำถามที่  17.4.2

   มหาวิทยาลัยของท่านมีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ SDGs หรือไม่? (อาจะเป็นหลักสูตร หรือวิชาเลือก)

   กิจกรรม workshop “รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาชนบท” ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้พลวัตชนบท กิจกรรมในรายวิชาสังคมวิทยาชนบท (Rural Sociology) 01460231 และ วิชามานุษยวิทยาชนบท ( Rural Anthropology) 01461327 เมื่อวันพุธที่ 6 และวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา อันเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้ในวิชาทั้งสองมีความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน อันจะทำให้นิสิตสามารถคิด วิเคราะห์ และเข้าใจพลวัตของชนบทไทยได้มากยิ่งขึ้น

   ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ครช. ที่กรุณามาช่วยเป็นทีมวิทยากรให้กับกิจกรรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ คณะวิทยากรจาก ครช.ได้จัดทำกระบวนการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีความสนุกสนานอย่างยิ่ง

   แนวคิดและวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม

   ชนบท/หมู่บ้านเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คน อย่างไรก็ดี ชนบท/หมู่บ้านไม่ได้ขอบเขตที่ชัดเจนและไม่เคยแยกขาดจากโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรัฐ ระบบตลาด/ทุนนิยม หรือความเป็นเมือง ปัจจุบันชนบทมีความเปลี่ยนแปลงในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทำมาหากินประกอบอาชีพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านโครงสร้างหรือองค์การทางการสังคมเมือง ด้านวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ทั้งนี้ งานศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในชนบทไม่ใช่คนที่เฉื่อยชา อ่อนแอ  หรือ โง่-จน-เจ็บ ดังที่เป็นมายาคติหลักในสังคม แต่คนชนบทมีความตื่นตัว กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ปรับตัวต่อปัจจัยภายนอก หรือแม้กระทั่งได้กระทำการต่อต้านขัดขืนต่อรัฐและทุนที่เข้ามากดขี่เอารัดเอาเปรียบ แต่กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าโครงสร้างอำนาจที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยได้สร้างข้อจำกัดอย่างมากต่อคนชนบทในการที่จะมีช่องทางเรียกร้องสิทธิหรือความเป็นธรรม ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดภายในรัฐที่กำหนดโครสร้าง อันได้แก่ ที่มา อำนาจ และหน้าที่ของสถาบัน องค์กร และหน่วยงานหลัก รวมถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชน บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนชนบท  “โครงการส่งเสริมการเรียนรู้พลวัตชนบท: รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาชนบท”

วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม 

  1. เพื่อให้นิสิตเข้าใจถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญที่มีต่อชนบทและคนชนบท
  2. เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์ปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อชนบท/คนชนบท
  3. เพื่อให้กระตุ้นให้นิสิตมีข้อเสนอแนะต่อการร่างหรือแก้ไขเนื้อหาในธรรมนูญเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชนบท

  การดำเนินการ 

 กิจกรรม workshop “รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาชนบท” ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้พลวัตชนบท กิจกรรมในรายวิชาสังคมวิทยาชนบท (Rural Sociology) 01460231 และ วิชามานุษยวิทยาชนบท ( Rural Anthropology) 01461327 เมื่อวันพุธที่ 6 และวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา อันเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้ในวิชาทั้งสองมีความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ความเป็นไปทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในปัจจุบัน อันจะทำให้นิสิตสามารถคิด วิเคราะห์ และเข้าใจพลวัตของชนบทไทยได้มากยิ่งขึ้น

     ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน l ครช. ที่กรุณามาช่วยเป็นทีมวิทยากรให้กับกิจกรรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ คณะวิทยากรจาก ครช.ได้จัดทำกระบวนการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีความสนุกสนานอย่างยิ่ง 

   ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน 

    นักศึกษามีความรู้และตระหนักถึงประเด็นความยั่งยืนในพื้นที่ชนบท