ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
logo
สถานที่ตั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กิจกรรม บรรยายพิเศษ “ฝั่งธนชมเมือง: เดิน-กิน-ไหว้-ในย่านเก่า”

   SDG ด้านที่   17   ข้อคำถามที่   17.4.2

   มหาวิทยาลัยของท่านมีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและ SDGs หรือไม่? (อาจะเป็นหลักสูตร หรือวิชาเลือก)

   ภาควิชาสังคมวิทยาเเละมานุษยวิทยา รายวิชามานุษยวิทยาอาหาร จะจัดโครงการ “ฝั่งธนชมเมือง: เดิน-กิน-ไหว้-ในย่านเก่า ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09:30-17:30 น. โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์กุลชาติ ทักษไพบูลย์ และอาจารย์นราธร สายเส็ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นวิทยากรบรรยาย โดยจะทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ ตลาดนัดวังหลัง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ศาลเจ้าเกียนอันเกง และพิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เป็นต้น รวมทั้งหมด 22 จุด เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

  วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม 

   1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และตระหนักถึงประเด็นการเข้าถึงอาหารและความมั่นคงด้านอาหาร

   การดำเนินการ 

    ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดโครงการ “ฝั่งธนชมเมือง: เดิน-กิน-ไหว้-ในย่านเก่า” ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยเริ่มออกเดินจาก ตลาดนัดวังหลัง ศึกษาสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ศาลเจ้าเกียนอันเกง โบสถ์ซางตาครู้ส พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน เดินเลียบริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสะพานพระพุทธยอดฟ้า อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศาลเจ้ากวนอู และมาสิ้นสุดที่ The Jam Factory รวมระยะทางกว่าสิบกิโลเมตร

  โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ กุลชาติ ทักษไพบูลย์ และอาจารย์นราธร สายเส็ง จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นวิทยากรบรรยาย และมีนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย

   กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 01461353 มานุษยวิทยาอาหาร ผู้สอน อ.ดร.ปิยรัตน์ ปั้นลี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของเมือง โดยเฉพาะประเด็น gentrification ที่มีผลต่อวิถีอาหาร การเข้าถึงอาหาร และความมั่นคงทางอาหาร

  ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน 

   นักศึกษามีความรู้และตระหนักถึงประเด็นการเข้าถึงอาหารและความมั่นคงด้านอาหาร