ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
logo
สถานที่ตั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 2022 KU Social Sciences International Conference: Roles of Social Sciences in Sustainability Transformation in the Global South”

SDG ด้านที่ ..17.. ข้อคำถามที่ .. 17.2.2..มหาวิทยาลัยของท่านเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการประชุมร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ (เช่น หน่วยงานรัฐ/เอกชน/NGO) เพื่อร่วมหาแนวทางบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ(SDGs)
การเกริ่นนำ: คณะสังคมศาสตร์ มีการดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 2022 KU Social Sciences International Conference: Roles of Social Sciences in Sustainability Transformation in the Global South”เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายในการพัฒนางานวิชาการ งานวิจัยให้เกิดขึ้นระหว่างนักวิจัย สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยมีหน่วยงานภาคีเข้าร่วม ได้แก่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, IPB University, Bogor, Indonesia, Ghana University, Easter Regional Organization for Public Administration: EROPA และราชบัณฑิตยสภา
 
วัตถุประสงค์ของโครงการ (ซึ่งสอดคล้องกับประเด็น SDGs)
 
1. มุ่งให้การประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางสังคมศาสตร์เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อค้นพบทางวิชาการและผลสรุปจากการปฏิบัติจริงใหม่ๆ ทั้งในบริบทประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนในประเทศโลกใต้
2. เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งขึ้นระหว่างคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย และกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงองค์กรภาครัฐ ภาคธุรกิจและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ วิจัย สาขาสังคมศาสตร์
 
การดำเนินการ (บอกว่าทำอะไร)
 
1. ดำเนินการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติในรูปแบบ online โดยมี session นำเสนอบทความจำนวน 3 ห้อง ดังต่อไปนี้ 1) People, Power, and Promotion of Sustainability 2) Models, Management, and Measurement of Social Sustainability 3) Technology-Based Social Sustainability Transformation
2. มีการถ่ายทอดสดสำหรับ session การให้ความรู้ในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังต่อไปนี้
 
Keynote 1 : Framing the Sustainability Transformation Challenge in the Global South from a Social Sciences Perspective
Keynote 2 : Sustainable Development and Good Governance in Designing for Transformation in the Global South
Keynote 3 : Sustaining Transformative Developments through Academic Inter-Regional Collaboration: the Role of IIAS

Special Lecture 1 : Challenges of Agri-food System Transformation in the Global South: Sustainability and Resilience
Special Lecture 2 : Climate Changes Impacts and Strategies for Mitigation and Adaptation in the Agriculture and Food Sector
Panel Discussion : Achieving Sustainability Transformations through social Innovation: Past, Present, and the Way Forward
Roundtable : Social Sciences and the Sustainability Transformation Challenges: Are We Up to the Task?
 
ผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ที่ตอบ SDGs)
 
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ NGO เช่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, IPB University, Bogor, Indonesia, Ghana University, Easter Regional Organization for Public Administration: EROPA และราชบัณฑิตยสภาโดยมีผู้เข้าร่วมฟังเสวนาที่ตอบแบบสอบถามมาจาก 3 ประเทศ คือ 1) อินโดนีเซีย 2) ฟิลิปปินส์ และ 3) ไทย โดยผู้เข้าฟังแบบ Overall Sessions ได้รับความพึงพอใจจาการเข้าร่วมโครงการในระดับดีมากด้วยค่าเฉลี่ยที่ระดับ 4.73
ในขณะที่มีวิทยากรที่เชิญมาเป็น Keynote และร่วมเสวนามาจากหลากหลายประเทศ เช่น 1) กาน่า 2) เนเธอร์แลนด์ 3) อังกฤษ และ 4) อินเดีย (องค์กร FAO) นอกจากนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ (reviewer) มาจาก 2 ประเทศ คือ 1) ไต้หวัน และ 2) สหรัฐอเมริกา อีกด้วย

ผลลัพธ์จากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “The 2022 KU Social Sciences International Conference: Roles of Social Sciences in Sustainability Transformation in the Global South” ได้มีการจัดทำ proceeding และสาะสำคัญที่วิทยากรได้บรรยายถึงแนวทางไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเผยแพร่ที่ https://ssic.soc.ku.ac.th/welcome/proceeding/ อาทิ บทความเรื่อง
-Community Participation in Reduce, Reuse and Recycle to Preserve Cikapundung River Basin, Bundung, West Java, Indonesia (Siti Amanah and others)
– A Review of Frameworks for Evaluating Online Corporate Sustainability Communications (Chanapa Itdhiamornkulchai and Tatri Taiphapoon)
- Assessing Youth Engagement to Agricultural Activities at Central Luzon Philippines: Basis for the Development of Infomediary Material (John Romar A. Pedrigal)
- Development of Healthy Food through Organic Farming Based on Bio-cyclo Technology in Peri-Urban Communities (Sumardjo, Adi Firmansyah and Leonard Dharmawan)
- E-Government Adoption of Local Governments in the Philippines (Catherine A. De Castroa and Errol G. De Castrob) เป็นต้น