SDG ด้านที่ 17 ข้อคำถามที่ 17.2.1
มหาวิทยาลัยของท่านมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหรือร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศหรือไม่? (เช่น การให้ข้อมูลระบุปัญหาอุปสรรคและความท้าทาย การกำหนดและพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ การคาดการณ์ทั้งในกรณีที่มีและไม่มีนโยบาย การติดตามและการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบาย และสนับสนุนแผนการรับมือบริหารจัดการ)
คณะสังคมศาสตร์ มีการดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Upskill/Reskill/Newskill) ตามดำริของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำและกุญแจสู่ความสำเร็จ (key success) ของการทำงานและการบริหารในยุคปัจจุบัน ของบัณฑิตสาขาการปกครองและบริหารจัดการท้องถิ่น กับสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สำเร็จการศึกษาในปัจจุบันและภายหลังจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (Post-COVID-19) ที่อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดจนทำให้ทั้งผู้เรียนและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกไปขาดทักษะที่จำเป็นบางประการสำหรับการประกอบวิชาชีพในอนาคต รวมถึงอาจทำให้บัณฑิตมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่ลดลง จึงได้จัดให้มีการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการมหานครกับวิทยากรภายใต้หัวข้อ “216 โครงการ กับการพลิกโฉมมหานคร” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องปรนะชุมสุธรรม อารีกุล อาคาร 50 ปี สารนิเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 632 คน ประกอบด้วยคณาจารย์ของภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 15 ท่าน บุคคลที่ลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน 500 คน บุคคลที่ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้าจำนวน 97 คน และสื่ออีกจำนวน 20 คน จาก 10 สำนักข่าว คือเดลินิวส์, สำนักประชาสัมพันธ์ กทม., Voice TV, NBT, INN, TNN, ช่อง 3, TV5 และ สวท. ดังรายละเอียดตามตารางต่อไปนี้
ข้อมูลทั่วไป |
จำนวน |
ร้อยละ |
1. อาจารย์ |
15 |
2.37 |
2. ศิษย์เก่า |
44 |
6.96 |
3. นิสิตปัจจุบัน |
419 |
66.30 |
4. ผู้สนใจทั่วไป |
37 |
5.85 |
5. ผู้ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้า (Walk-in) |
97 |
15.35 |
6. สื่อ |
20 |
3.17 |
รวม |
632 |
100 |
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายโดยตรงของ SDG ด้านที่ 17 ข้อคำถามที่ 17.2.1 จากการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ได้เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนและพูดคุยกับผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการวางแนวนโยบายและบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร อันเป็นมหานครที่เป็นจุดจรบรรจบของทักษะในการบริหารจัดการทั้งในแง่การเมืองการปกครองท้องถิ่นภายในประเทศ และการปรับตัวให้สอดรับกับความเป็นมหานครที่มีความเป็นสากล (cosmopolitan) และมหานครอัจฉริยะ (smart city) ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความไม่มั่นคงในระดับระหว่างประเทศอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินการ
เป็นการจัดฝึกอบรมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเมือง และนโยบายการบริหารกรุงเทพมหานคร ระหว่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนกับปัจจุบันกับนิสิตที่มาเข้าร่วมงาน โดยคาดหวังว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำและกุญแจสู่ความสำเร็จ (key success) ของการทำงานและการบริหารในยุคปัจจุบัน และการปรับตัวเข้ากับการทำงานตลอดจนความคาดหวังของผู้บริหารองค์กรระดับสูงต่อคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยอาศัยการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากรองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งทั้งในแง่ของผู้บริหารองค์กรธุรกิจจากภาคเอกชนและปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ
ผลลัพธ์
ผลลัพธ์ที่ชัดเจนที่สุดของการจัดอบรมในครั้งนี้ คือความร่วมมือและการเกิดเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนสำคัญโดยตรงในการกำหนดนโยบายพัฒนาที่ยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ดังปรากฏผ่านแนวนโยบายทั้ง 216 นโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลายมาเป็นหัวข้อการบรรยายและอบรมแลกเปลี่ยนของโครงการในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรม 632 คน และมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นในการพัฒนากรุงเทพมหานครจากผู้เข้ารับการอบรมในงานมากถึง 238 คำถาม ซึ่งในจำนวนนี้ มีหลายคำถามที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าองค์ความรู้สำคัญที่ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมากได้รับจากวิทยากร คือประเด็นเรื่องวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำทั้งในแบบ CEO และ Manager จากการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (จาก Diagnosis สู่ Guiding Policy และ Coherent Actions) ในการมองปัญหาและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมถึงทักษะในการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน ได้รับทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในอนาคต โดยเฉพาะการทำงานระหว่างผู้ที่มีความแตกต่างระหว่างช่วงวัย และการบริหารคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการผสานความร่วมมือระหว่างผู้นำองค์กรและคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการบริหารมหานครในยุคสมัยใหม่ที่ต้องเน้นการมีส่วนรวม (inclusiveness) ของผู้มีส่วนได้เสียและองคาพยพต่าง ๆ ของสังคมเพื่อให้เกิดนโยบายการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน อันสอดคล้องกับแนวนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปัจจุบันว่าต่องการทำให้กรุงเทพฯ “เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน”