SDG ด้านที่ 17 ข้อคำถามที่ 17.2.1
มหาวิทยาลัยของท่านมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหรือร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศหรือไม่ เช่น การให้ข้อมูลปัญหาอุปสรรคและความท้าทายในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การคาดการณ์ผลการดำเนินงานกรณีที่มีและไม่มีนโยบาย การติดตามและการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบาย และสนับสนุนแผนการรับมือ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันหรือเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 สิ่งอุปโภคบริโภค รวมถึงปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่ประชาชนต้องรับมือ จึงได้จัดทำ โครงการ Soc Ku Tor Boon ขึ้นมา โดยการจัดทำ Page Facebook Soc Ku Tor Boon เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ร้านค้าบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงร้านค้านิสิต ศิษย์เก่า และบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพื่อเป็นพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ความต้องการในการเปิดขอรับบริจาค ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ดังกล่าวก็เพื่อเป็นการให้ข้อมูลการขอรับบริจาค และข้อมูลร้านค้าให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีจิตศรัทธาในการบริจาค เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 - สิงหาคม 2565 โดยมีผู้ประกอบการ นิสิต ศิษย์เก่า บุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลที่สนใจ รวมถึงหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ เข้าร่วม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินการ
3. จัดทำฐานข้อมูลร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และหน่วยงานที่ต้องการรับบริจาค
ผลลัพธ์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดโครงการ Soc KU Tor Boon การดำเนินงานพบว่า เป็นไปตามเป้าหมายโครงการ คือ
1. เพจ Facebook Soc KU Tor Boon จำนวน 1 เพจ
2. ผู้ประกอบการ ร้านค้ารอบมหาวิทยาลัย นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 154 ร้าน
3. สื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 93 ชิ้น
4. ฐานข้อมูลร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และหน่วยงานที่ต้องการรับบริจาค จำนวน 32 แห่ง ได้รับความคิดเห็นต่อการจัดงานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01
โดยแบ่งลักษณะกิจกรรมเป็นดังนี้