SDG ด้านที่ 15 ข้อคำถามที่ 15.3.5
มหาวิทยาลัยของท่านมีการร่วมมือกับชุมชนในท้องถิ่นในการรักษาระบบนิเวศ หรือไม่
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมจัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ซึ่งได้ดำเนินการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ในความรับผิดชอบ จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ตำบลบางแก้ว ตำบลบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น เทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาความรู้ด้านสินค้า สมาร์ทฟาร์ม เกษตรอินทรีย์ การจัดการท่องเที่ยวแบบ New Normal การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การทำตลาดดิจิทัล การท่องเที่ยวชุมชน และการส่งเสริมสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2565 โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการ ประชาชนในพื้นที่ ประชาชนทั่วไปเข้าร่วม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินการ
2. พัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน รวมทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์และ brand สินค้า โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ
ผลลัพธ์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ในความรับผิดชอบ จำนวน 4 ตำบล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ซึ่งได้แก่ ตำบลบางหญ้าแพรก พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้ามอญ โดยการนำผ้าข้าวม้ามอญที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนมาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน และสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของชุมชน เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรท้องถิ่น โดยการหมุนเวียนทรัพยากรแปรสภาพเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ของที่ระลึก เพื่อเพิ่มรายได้ให้แกชุมชน ตำบลสำโรง พัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่กาแฟและยาหม่องกลิ่นกาแฟ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่ากากกาแฟเหลือทิ้งจากร้านกาแฟ ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์โดยสร้างสรรค์ขึ้นจากผู้ผลิตจากกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน และจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายชาวบ้านในชุมชน ตำบลบางแก้ว พัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุดเกลือหอมทำมือและชุดเกลือสปาทำมือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น คือ เกลือ ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชนโดยการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ที่ทํามาจากเกลือและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้ดีขึ้น ตำบลบางขันแตก พัฒนาผลิตภัณฑ์ น้ำตาลช่อดอกมะพร้าว ไซรัปน้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลมะพร้าว เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ และต่อยอดในการสร้างรายได้