SDG ด้านที่ 14 ข้อคำถามที่ 14.5.2
Does your university as a body monitor the health of aquatic ecosystems? : มหาวิทยาลัยของท่านมีการติดตามและดูแลสุขภาพของระบบนิเวศในน้ำ หรือไม่)
12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดิน อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดภายในปี 2563
ปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นปัญหาใหญ่ที่สั่งสมมานานตั้งแต่ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมแบบเต็มตัวโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีอุตสาหกรรมและความเจริญก้าวหน้าครบวงจรซึ่งนั่นเปรียบเสมือนดาบสองคมซึ่งนอกจากจะมีความเจริญก้าวหน้าแล้วกรุงเทพมหานครยังเผชิญกับวิกฤตน้ำเน่าเสียสะสมมาอย่างยาวนานจนปัจจุบันเรียกว่าถึงจุดวิกฤตแล้วก็ว่าได้ โครงการชิ้นนี้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะทราบถึงปัญหามลพิษทางน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมภายในกรุงเทพมหานคร เพื่อเรียนรู้ ค้นคว้า และหาทางออกเพื่อช่วยให้แม่น้ำในกรุงเทพมหานครกลับมาสวยงามและสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินการ
- คลองแสนแสบ (บริเวณท่าเรือนานาชาติ ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก)
- คลองบางซื่อ (บริเวณสะพานเปรมประชา ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก)
- คลองวัดเสาหิน (บริเวณวัดสร้อยทอง ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมเคมี)
เพื่อนำมาเปรียบเทียบตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานและการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการใช้เครื่องมือวัดระดับค่าสารเคมี
- คลองแสนแสบ (บริเวณท่าเรือนานาชาติ ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก)
- คลองบางซื่อ (บริเวณสะพานเปรมประชา ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก)
- คลองวัดเสาหิน (บริเวณวัดสร้อยทอง ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมเคมี)
5. การประเมินผลและวิเคราะห์ / สรุปโครงการ : โดยการนำข้อมูลทั้งหมดจากประเด็นต่าง ๆ มาวิเคราะห์ ศึกษาและสรุปผลข้อมูลต่าง ๆ ตามประเด็นที่สงสัยรวมไปถึงประเด็นเพิ่มเติมอื่น ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาทำการศึกษาโครงการเพื่อประเมินผล และบันทึกข้อแนะนำตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์
ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำมีความสำคัญ โครงการชิ้นนี้จึงสะท้อนปัญหามลพิษทางน้ำ เพื่อชี้ให้เห็นถึงภัยอันตรายของสารเคมีในแหล่งน้ำ ทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหามลพิษทางน้ำ ชี้ให้เห็นถึงช่องโหว่ทางกฎหมายและความไร้ความสามารถของภาครัฐรวมถึงผู้มีอำนาจในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งได้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ