SDGs 14 ข้อคำถามที่ 14.2.2
มหาวิทยาลัยของท่านมีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนหรือโปรแกรมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเรื่องการจัดการการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำ หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือไม่
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาคพิเศษ ได้จัดทำโครงการ “SEAS SAVE WORLD” ประจำปีการศึกษา 2566 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้เห็นถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง เพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งเเวดล้อม อีกทั้งยังมีการพัฒนาทักษะด้านบุคคลเพื่อให้นิสิตใหม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนนิสิต ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มฝึกความมีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสมเมื่อวันนเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมคือ
1.นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 44 คน
2.นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 36 คน
3.อาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ จำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ได้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม
วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม
1.เพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
3.เพื่อจัดกิจกรรมให้นิสิตมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจากการทำกิจกรรมและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
4.เพื่อสร้างความสามัคคีและส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
การดำเนินการ
06.00 น. รวมกันที่หน้าอาคารเรียนศูนย์เรียนรวม 4 ลงทะเบียนรับป้ายชื่อ
07.00 น. ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
09.30 น. เดินทางถึง มอนสเตอร์ อควาเรียม พัทยา Monsters Aquarium Pattaya
09.30–11.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมการเยี่ยมชมมอนสเตอร์อควาเรียมพัทยา
12.20 น. เดินทางถึงศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ (หมู่ที่ ๒ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี ๒๐๑๘๐)
12.20 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน (อาหารกล่อง)
13.30 – 14.30น. เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ได้แก่
- ชมห้องนิทรรศการ
- ฟังบรรยาย
14.30 – 15.30 น. ทำความสะอาดบ่ออนุบาลเต่าทะเล
- ชมโรงพยาบาลเต่า
15.30 – 16.00 น. จัดการภารกิจส่วนตัว (เปลี่ยนเสื้อผ้า)
16.00 น. ออกจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล และเดินทางกลับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
18.30 น. ถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสวัสดิภาพ
ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน