SDG ด้านที่ 11 ข้อคำถามที่ 11.4.2
Does your university as a body undertake actions to promote the % of more sustainable commuting (e.g. provision of free or subsidized buses or shared transport schemes, provision of bicycle parking & storage facilities, provision of cycle tracks, a bicycle and pedestrian plan or policy, bicycle sharing programme, free or reduced price transit passes, car/van pool or ride sharing programme, reduced parking fees or preferential parking for carpool or vanpool users, car sharing programme, provision of electric vehicle recharging stations, preferred parking for fuel-efficient vehicles)?
หน่วยงานของท่านมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเดินทางที่ยั่งยืน (เช่น การให้บริการฟรีหรืออุดหนุนระบบขนส่งสาธารณะ, การจัดหาที่จอดรถจักรยานและห้องเก็บของ, ข้อกำหนดของเส้นทางจักรยานและทางเท้า, แผนหรือนโยบายโปรแกรมแบ่งปันจักรยานฟรี, โปรแกรมการใช้รถ รถตู้ร่วมกัน, ลดค่าธรรมเนียมที่จอดรถสำหรับรถที่มีการใช้รถร่วมกัน (carpool, vanpool), สถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, จอดรถสำหรับยานพาหนะประหยัดน้ำมัน เป็นต้น) หรือไม่?
ปัญหาภัยความมั่นคงทางแสงสว่าง เป็นปัญหาที่อยู่กับสังคมและชุมชนไทยมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัญหานี้ยังคงพบได้ทั่วไปในปัจจุบัน แม้จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูแลและแก้ไขอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดและครอบคลุม ทำให้ชุมชนยังคงประสบกับปัญหาเดิมๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพของประชาชนในเขตชุมชนนั้นๆ เพราะปัญหาแสงสว่างที่ไม่เพียงพอในเขตชุมชน ทำให้เส้นทางการสัญจรเกิดเป็นมุมอับได้ และยังเกิดเส้นทางที่เปลี่ยวซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอันตราย ความเสี่ยง และ ความหวาดกลัวต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและทรัพย์สิน ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการและจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต ดังนั้นสาเหตุของความรู้สึกที่ไม่มั่นคงและรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่สาธารณะอย่างชุมชน พบว่าแสงสว่างที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุที่เป็นทำให้มนุษย์เกิดความหวาดกลัว
ดังนั้นความสว่างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการรับรู้ทางการมองเห็น และแสงสว่างยังเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดอาชญากรรมอีกด้วย เพราะเมื่อมีแสงส่องสว่างที่เพียงพอก็จะทำให้ตัวของอาชญากรคิดและไตร่ตรองและไม่กล้าตัดสินใจลงมือกระทำความผิด และแสงส่องสว่างทำให้ผู้ที่กำลังจะตกเป็นเหยื่อสามารถพิจารณาได้ว่าบุคคลที่เห็นอยู่ในระยะใกล้จะมาดีหรือร้าย อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการสามารถมองเห็นและจดจำใบหน้า รูปร่างลักษณะของบุคคลที่กระทำความผิดได้ ถ้าหากแสงสว่างยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนสามารถมองเห็นหรือสัญจรได้ในเวลากลางคืนได้อย่างสะดวก จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชน ดังนั้นการมีไฟฟ้าส่องสว่างในเวลากลางคืนแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมาก
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินการ
ผู้วิจัยสำรวจพื้นที่ ผลกระทบที่มาจากแสงส่องสว่างที่ไม่เพียงพอในบริเวณพื้นที่ชุมชนลาดพร้าว ซอย 8 แยก5, แยก7, แยก9 และนำแบบสอบถามไปรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่อาศัยบริเวณพื้นที่ชุมชนลาดพร้าว ซอย 8 แยก5, แยก7, แยก9 โดยทำการแจกและเก็บแบบสอบถามระหว่างวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2565 ถึง 20 มีนาคม พ.ศ.2565
ผลลัพธ์
การศึกษาและดำเนินงานในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาแสงสว่างที่ไม่เพียงพอว่าส่งผลกระทบต่อประชาชนในซอยลาดพร้าวซอย 8 อย่างไร และเป็นการศึกษาถึงแนวทางการจัดการของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาแสงสว่างไม่เพียงในชุมชนว่าจะมีวิธีการอย่างไร พบว่าแสงสว่างในชุมชนลาดพร้าวซอย 8 ไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการเดินทางและสัญจรภายในซอยลาดพร้าว เพราะมีทั้งประชาชนที่ใช้เส้นทางนี้ในการเข้าออกที่พัก และที่ใช้สำหรับเป็นเส้นทางผ่านในการเดินทางไปกลับจากที่ทำงาน ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวในการเดินทางในช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอจะสามารถเกิดเหตุอาชญากรรมได้ และยังเกรงว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุจากการมองไม่เห็นอีกด้วย
แนวทางการแก้ปัญหาจากทางภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องของแสงสว่างนั้น ประชาชนจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ร้องเรียนเสียก่อน ทางภาครัฐจึงจะสามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้ แต่ทั้งนี้สำหรับการติดตั้งไฟส่องสว่างในที่สาธารณะ ประชาชนจะต้องดำเนินการผ่านทางสำนักงานเขตพื้นที่ของพื้นที่ที่ประสบปัญหา เพื่อให้ทางเขตดำเนินการต่อไป ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควรเนื่องจากมีเรื่องของการเบิกจ่ายงบจากทางกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจำเป็นจะต้องใช้เวลาพอสมควร
ดังนั้นจากการศึกษาและการได้ลงพื้นที่สำรวจแบบสอบถามและสัมภาษณ์ทำให้ได้ทราบถึงสภาพปัญหาที่ประชาชนในชุมชนลาดพร้าวซอย 8 ว่าพบเจอทั้งปัญหาอาชญากรรม อุบัติเหตุ และที่สำคัญยังทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวอีกด้วย การศึกษาในครั้งนี้ยังทำให้ทราบถึงแนวทางการจัดการปัญหาแสงสว่างในชุมชนที่ไม่เพียงพอจากทางหน่วยงานภาครัฐว่าประชาชนต้องเป็นผู้ดำเนินการร้องเรียนเข้ามายังสำนักงานเขตพื้นที่ที่ประสบปัญหา ทางเขตจึงจะประสานงานกับทางการไฟฟ้าต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองให้กับภาครัฐต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยให้การอยู่อาศัยของคนในพื้นที่มีความปลอดภัยที่มากขึ้นได้