SDGs 11 ข้อคำถามที่ 11.2.6
หน่วยงานของท่านจัดให้มีโครงการเพื่อบันทึกและ/หรือรักษามรดกทางวัฒนธรรม เช่น คติชนท้องถิ่น ประเพณี และความรู้ หรือไม่?
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (ภาคพิเศษ) ได้มีการดำเนินการจัดโครงการทัศนศึกษามัสยิดยะวา และพื้นที่ใกล้เคียง เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร และโดยผลทางตรงจะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ซึ่งพื้นที่มัสยิดยะวา และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นพื้นที่ที่มีหลายประเด็นที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องการย้ายถิ่นในอดีต การผสมกลมกลืนของคนในชุมชน การอยู่ร่วมกันของคนต่างศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ การคงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง เพื่อนักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ มัสยิดยะวาและชุมชนโดยรอบ จ.กรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้เข้าร่วม ดังนี้
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์พิเศษผู้สอนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาวุธ ธีระเอก อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
3.นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาฯ จำนวน 39 คน
4.วิทยากรของมัสยิดยะวา 2 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ได้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม
วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม
การดำเนินการ
09.00 น. นิสิตออกเดินทางไปมัสยิดยะวา
09.30 น. นิสิตเดินทางถึงพร้อมกันที่มัสยิดยะวา
10.00 น. เรียนรู้เรื่องราวประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต และพลวัตของชุมชนชวาที่มัสยิดยะวา
12.00 น รับประทานอาหารที่มัสยิดยะวา
13.00 น นิสิตลงพื้นที่ศึกษาวิถีชุมชนชวาบริเวณโดยรอบมัสยิดยะวา
16.00 น. ออกเดินทางกลับ
ผลลัพธ์ / ผลที่ได้จากการดำเนินงาน
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวชวาที่มาตั้งรกรากอยู่บริเวณมัสยิดยะวา
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ทักษะการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม