SDG ด้านที่ 11 ข้อคำถามที่ 11.2.6
หน่วยงานของท่านจัดให้มีโครงการเพื่อบันทึกและ/หรือรักษามรดกทางวัฒนธรรม เช่น คติชนท้องถิ่น ประเพณี และความรู้ หรือไม่?
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา 01452225 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย (Local History of Thailand) เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยมีการพานิสิตลงพื้นที่วิจัยภาคสนามนอกสถานที่ย่านชุมชนคลองบางหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565 โดยมีนิสิตในหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นปี 2-3 และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมเป็นจำนวน 28 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของโครงการ (ซึ่งสอดคล้องกับประเด็น SDGs)
การดำเนินการ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565
07.30 อาจารย์และนิสิตนัดพบวิทยากรที่ท่าเรือบริเวณลานจอดรถหน้าวัดกัลยาณมิตร
08.00 วิทยากรบรรยายภาพรวมความเป็นเมืองท่าหน้าด่าน ก่อนออกเดินเรือบนเส้นทางย่าน
คลองบางหลวง
08.30 ศึกษาป้อมเมืองบางกอกในกระแส “ออเจ้า” ละครบุพเพสันนิวาส
09.00 ตามเส้นทางคลองบางหลวง ศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านวัดหงษ์รัตนาราม ราชวรวิหาร
10.00 จอดเรือแวะเดินเท้าศึกษา “ถนนสายใน” ย่านชุมชนตลาดพลูผ่านกลุ่มวัดบางยี่เรือ
11.00 กลับสู่เรือโดยสารเพื่อเข้าสู่การศึกษาวิถีชาวน้ำตามคลองบางหลวง แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม พบกันเสาประโคนที่บอกเขตเมืองที่ปากคลองด่าน
00.30 ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังที่วัดกำแพงบางจากฝีมือช่างหลวง และพระพุทธฉายที่มีความงามแบบเฉพาะตัว
12.00 ร่วมรับประทานอาหารกลางวันย่านชุมชนวัดกำแพงบางจาก
13.00 ศึกษาแหล่งการค้าชายน้ำ ณ บ้านศิลปิน ชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและการแสดงหุ่นละครเล็ก
คลองบางหลวง
14.00 นัดพบที่ท่าเรือวัดคูหาสวรรค์(ศาลาสี่หน้า) ออกเดินเรือผ่านเส้นทางคลองมอญ
ศึกษาประเด็นประวัติศาสตร์ด่านรับข้าศึกข้างตะวันตกบนแนวคลอง
16.00 ศึกษาวัดมะกอกนอก (วัดแจ้ง) มหาธาตุใหม่หลังจากขุดลัดบางกอก พ.ศ. 2085
17.30 กลับสู่ท่าเรือวัดกัลยาณมิตร พร้อมสรุปผลการลงพื้นที่วิจัยภาคสนามเชิงประยุกต์
18.00 เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
ผลลัพธ์