SDG ด้านที่ 16 ข้อคำถามที่ 16.2
Peace Justice and Strong Institution
16.2 ยุติการข่มเหง การใช้หาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
ที่มา
แพลตฟอร์ม TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอขนาดสั้นที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่เริ่มมีการ lockdown ของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถอัดวิดีโอและเลือกเพลงที่ตนเองต้องใส่ลงไปได้ หรือจะเป็นการชาเลนจ์ทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเต้นตามเพลง การเลียนแบบ การทดลองตามวิดีโอที่อยู่แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นการชาเลนจ์ระหว่างกลุ่มหนึ่งกับอีกกลุ่มคน หรือ ระหว่างแบรนด์สินค้ากับกลุ่มลูกค้า ซึ่งถือเป็นการตีตลาดให้ผู้คนได้รู้จักในแบรนด์สินค้าหรือเพลงนั้นๆ ให้กลายเป็นกระแสในโลกโซเชียลได้ดีซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการหากิจกรรมยามว่างทำร่วมกันผ่านทางออนไลน์และในบางครั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ที่เล่นแพลตฟอร์มอีกด้วย แต่การแพร่หลายของแพลตฟอร์ม TikTok ที่รวดเร็วจนเกินการควบคุมในการใช้งานของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีโอกาสพบการทำคอนเทนต์ที่มีความหลากหลายยากเกินกว่าที่ผู้ปกครองจะควบคุมได้ และบางวิดีโอมีเนื้อหาที่สุมเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายทั้งต่อผู้รับชมและคนรอบข้างได้
ดังที่ปรากฎในข่าวเมื่อ 22 มีนาคม 2564 เด็กชายวัย 12 ปี เสียชีวิตจากการทำ Blackout Challenge ที่กำลังเป็นเทรนด์ในแพลตฟอร์ม TikTokด้วยการพยายามใช้เชือกรองเท้ามารัดคอตัวเองจนหมดสติไป เป็นชาเลนจ์ท้าตายที่ผู้เล่นจะต้องทำให้ตนเองหมดสติไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และถ่ายคลิปมาลงโซเชียล ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายที่สามารถส่งผลต่อชีวิตของผู้เล่นได้ โดยสำนักข่าวคาดการว่าเด็กชายไม่ทราบถึงความเสี่ยงที่จะตามมาหลังการทำชาเลนจ์และผู้ปกครองไม่รู้ว่าลูกชายกำลังเลียนแบบสิ่งที่เห็นตามแพลตฟอร์มออนไลน์ (Kapook, 2564; Australia’s leading news, 2564)
นอกจากนั้นจะยังมีชาเลนจ์ต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบของวัยรุ่นอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอการประสบการณ์ BDSM การทำร้ายตัวเอง การคอลเพลย์แนวเซ็กซี่ หรือการเป็นคุณแม่วัยใส ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลและให้ความรู้เกี่ยวกับการกระทำที่เกิดขึ้นตามกระแสสื่อออนไลน์ในแพลตฟอร์ม TikTok จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและคนรอบข้างได้
ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้มีการจัดทำโครงการเยาวรุ่นยุคใหม่ รู้เท่าทันภัยTikTok โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์บนแพลตฟอร์ม TikTok เพื่อให้ได้รู้เท่าทันภัยและมีวิธีป้องกันตนเองจากภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดพฤติกรรมการเลียนแบบในเชิงลบที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของวัยรุ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ
การดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้เรื่อง การใช้สื่อออนไลน์
เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์บนแพลตฟอร์ม TikTok ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งการให้นักเรียนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควรทำตาม อย่างเช่น การเป็นคุณแม่วัยใส, การรับประทานสิ่งของ โดยการบรรยายถึงประโยชน์และโทษของการใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ผิด
กิจกรรมที่ 2 การระดมความคิด
เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้รวมกลุ่มระดมความคิดกันออกแบบการสร้างเนื้อหาวิดีโอบนแพลตฟอร์ม
TikTok อย่างสร้างสรรค์จากความชื่นชอบของผู้เข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมที่ 3 Challenge TikTok with P’Tatis
เป็นกิจกรรมสันทนาการ โดยการคิดท่าเต้น TikTok กับเพื่อนนักเรียนด้วยกันเองและคณะผู้จัดทำ
ผลลัพธ์ที่เกิด
ผลตอบรับจากกิจกรรม
กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นได้รับความร่วมมือจากน้องๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบหรือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์อย่าง TikTok รวมทั้งน้องๆ ยังตั้งใจกับการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันระหว่างชั้นป.6 - ม.3 ด้วยการแสดงความคิดเห็น ความชื่นชอบ ความถนัดของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ทุกคนได้ชื่นชมกัน และการเต้น TikTok ร่วมกับพวกพี่ๆ อย่างสนุกสนาน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมนั้น ทำให้น้องๆ ได้ความรู้และสนุกสนานไปพร้อมกับเนื้อหาที่พวกพี่ๆ ได้นำมาให้ความรู้ โดยน้องๆ ชื่นชอบกิจกรรมที่พวกพี่จัดให้เป็นจำนวนมาก เห็นได้จากการมีน้องๆ และคุณครูจากโรงเรียนวัดสังฆจายเถรได้มีการโพสต์ข้อความผ่านสื่อออนไลน์ว่า ‘เป็นกิจกรรมที่ดี เด็กๆ แฮปปี้’ ‘อยากให้พวกพี่ๆ ม.เกษตรศาสตร์ มาจัดกิจกรรมอีกครั้ง’ ‘อยากให้พวกพี่มาสอนทุกวัน’ หรือการถามว่า ‘พวกพี่จะมาที่โรงเรียนอีกไหม’ เป็นต้น