ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
logo
สถานที่ตั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการ สำรวจปัญหาฝุ่นละอองในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

SDG ด้านที่ 11 ข้อคำถามที่ 11.6

      Sustainable Cities and Communities

     11.6 ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรโดยรวมถึงการให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อคุณภาพอากาศและการจัดการของเสียของเทศบาลแลอื่นๆ ภายในปี 2573

     ปัญหาของฝุ่นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยฝุ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น และฝุ่นละอองการดำรงชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์  ได้แก่ การขนส่งคมนาคม รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่นและดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถยนต์ ในขณะที่แล่นจะทำให้เกิดฝุ่นละอองตกอยู่ตามท้องถนน แล้วกระจายตัวอยู่ในอากาศ  เกิดจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลที่ปล่อยเขม่า ฝุ่น และควันดำออกมาสู่อากาศ การจราจรติดขัดจนทำให้มีควันไอเสียจากรถในปริมาณมากจนทำให้ค่าฝุ่นละอองเกินกว่าค่ามาตรฐานตามที่กำหนดโดยทั่วไป อีกทั้งยังเกิดจากการก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงบนพื้นผิวถนน ซึ่งการก่อสร้างหลายชนิดมักจะมีการเปิดหน้าดินก่อนก่อสร้างจึงทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค การรื้อถอน ทำลายอาคารและสิ่งก่อสร้าง  ส่วนในภาคโรงงานอุตสาหกรรมมีการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน พืช แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การเผาขยะในที่โล่งจะทำให้เกิดฝุ่นที่เป็นการรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ

     ในปัจจุบันพบว่าฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกนั้นเป็นฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร แม้กระทั่งประเทศไทยก็ล้วนแต่ประสบกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ในแทบทุกปี แต่ในปี 2562 นั้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่างต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ทำให้ประชาชนเริ่มตระหนักและให้ความสนใจกับปัญหาฝุ่นที่เกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์

วัตถุประสงค์ของโครงการ

          โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์นั้นได้ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ไปด้วย ทำให้ในทุกๆเช้าเราจะประสบกับปัญหาจากฝุ่นละอองที่ปกคลุมในอากาศ ซึ่งทำให้เกิดการอาการระคายเคืองบริเวณจมูกและการหายใจที่ติดขัด อีกทั้งยังทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นลดลง เหตุเกิดจากการปรับปรุงการสร้างถนน อาคารเรียน และการจราจรที่ติดขัดภายในมหาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ระหว่างที่เดินทางเข้าไปเรียนนั้นจะต้องมีการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากนอกตัวอาคารเรียน เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพของตัวเราในเบื้องต้น จึงนำมาสู่ความสนใจถึงคุณภาพอากาศที่มีอยู่ในสังคมโดยรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยการสำรวจปริมาณฝุ่นและวิธีการป้องกัน/รับมือ และนำไปสู่การลดผลกระทบต่อคน โดยรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป

การดำเนินการ 

      ทางคณะผู้จัดทำมีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด โดยแบ่งการศึกษาและเก็บข้อมูลออกเป็น  3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการสำรวจ ส่วนการสัมภาษณ์และส่วนการทำแบบสอบถาม

      ส่วนการสำรวจ ทางคณะผู้จัดทำจะทำการลงพื้นที่ไปสำรวจปริมาณฝุ่นละอองบริเวณหน้าประตูทางเข้า ทั้งทางฝั่งพหลโยธิน ฝั่งงามวงศ์วานและฝั่งวิภาวดีรังสิต เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงอันตรายและผลกระทบต่อร่างกายโดยเทียบจากค่ามาตรฐานที่สากลกำหนด

      ส่วนการสัมภาษณ์ ทางคณะผู้จัดทำจะทำการสัมภาษณ์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้คนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยและบุคลากรที่ทำงานในมหาวิทยาลัย

      ส่วนแบบสอบถาม ทางคณะผู้จัดทําจะใช้แบบสอบถามรูปแบบ Google Forms ในการสอบถามความคิดเห็นและความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นละออง วิธีการรับมือและการป้องกันกับปัญหาที่เกิดจากฝุ่นละออง ซึ่งผู้ศึกษาจะส่งแบบสอบถาม Google Forms ให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์

ผลลัพธ์

      ทางคณะผู้จัดทําได้ทําการสํารวจตามสถานที่ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ประตูพหลโยธิน ประตูงามวงศ์วาน1ภายในอาคารจอดรถประตูงามวงศ์วาน1 คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ ประตูงามวงศ์วาน3 และประตูวิภาวดีรังสิตสถานที่แรก คือ บริเวณประตูพหลโยธิน วัดค่าฝุ่นละอองได้ 55 มลก./ลบ.ม. ซึ่งเป็นประตูที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวและถนนพหลโยธินที่มักมีการจราจรที่ติดขัด ได้รับควันเสียจากรถยนต์ตลอด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ค่อนข้างอับจากการอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชน มีอาคารสูง มีป้ายรถโดยสารสาธารณะและมีสถานีรถไฟฟ้าที่ปิดกั้นอากาศ ทําให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จึงส่งผลให้พื้นที่บริเวณประตูพหลโยธินนี้วัดค่าฝุ่นละอองได้ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อเทียบกับตารางวัดค่าฝุ่นละออง 51-90 มลก./ลบ.ม. นั้น อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงควรป้องกันสุขภาพด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีความจําเป็นตัวออกไปทํากิจกรรมกลางแจ้ง

     จากการสัมภาษณ์พบว่าฝุ่นละอองจากนั้นส่งผลต่ออันตรายต่อปอด และภูมิแพ้มากที่สุด โดยแหล่งกําเนิดของฝุ่นส่วนใหญ่มาจากโรงงาน รองลงมาคือมาจากรถยนต์ วิธีการป้องกันฝุ่นละอองได้มากที่สุดคือการสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการออกไปทํากิจกรรมข้างนอก วิธีที่ลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศให้ลดน้อยลงมากที่สุดก็คือ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว และหันมาใช้รถโดยสาธารณะแทน เช่น รถไฟฟ้า BTS รถโดยสารประจําทาง รถจักรยาน ซึ่งจากผลการสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์คาดเดาว่าค่าฝุ่นละอองในอากาศอยู่ในระดับ 40-50 ซึ่งถ้าเทียบจากดัชนีคุณภาพของอากาศจะถือได้ว่าอยู่คุณภาพอากาศที่ปานกลาง ถือว่าสามารถออกไปทํากิจกรรมกลางแจ้งได้ปกติ แต่ผู้ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ คือผู้ที่เริ่มมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ จาม หายใจลําบาก ระคายเคืองตา ควรที่จะลดระยะเวลาในการออกไปทํากิจกรรมกลางแจ้ง

     จากแบบสอบถามพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เลือกที่จะป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัยมากที่สุด ลําดับที่สอง คือ การใช้เครื่องฟอกอากาศ และลําดับต่อไป คือ ลดการเผาไหม้ขยะ โดยสถานที่ที่คิดว่าพบฝุ่นละอองมากที่สุด คือ ประตูพหลโยธิน ส่วนประตูงานวงศ์วาน1 ประตูงามวงศ์วาน3 และประตูวิภาวดีรังสิตมีปริมาณฝุ่นละอองในระดับปานกลาง ส่วนประตูงานวงศ์วาน2 ผู้คนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คิดว่ามีปริมาณฝุ่นละอองในระดับที่เท่ากัน คือ ระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก นอกจากนี้ผู้คนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มองว่าฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจมากที่สุด เช่น มีอาการ ไอ จามแน่นหน้าอก ผลกระทบรองลงมา คือ ผลกระทบด้านร่างกายภายนอก เช่น ผิวหนัง มีผื่น คัน และผู้สูงอายุ