SDG ด้านที่ 11 ข้อคำถามที่ 11.3
Sustainable Cities and Communities
ยกระดับการพัฒนาเมืองและขีดความสามารถให้ครอบคลุมและยั่งยืนเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม
ชุมชนคลองพญาเกษม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านเจริญนคร เป็นชุมชนระดับปานกลาง มีความหลากหลายทางเพศและวัย ผู้คนในชุมชนมีความเป็นมิตรที่ดีต่อกันและร่วมกันพัฒนาชุมชนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการสอดส่อง ดูแลเมื่อคนแปลกหน้าเข้ามาในชุมชน หรือการดูแลพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน ชุมชนแห่งนี้มีสมาชิกและองค์ประกอบที่ดี แต่สิ่งหนึ่งที่ยังขาดหายนั้นการป้องกันอาชญากรรมในตัวสถานที่ เนื่องจากภายในชุมชนมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมเป็นในอนาคตอยู่หลายพื้นที่ คณะผู้จัดทำโครงการจึงเล็งเห็นความเสี่ยงและปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่และครบองค์ประกอบ คณะผู้จัดทำจึงสร้างโครงการฝั่งธนฯ จะไม่ทนอีกต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้ความรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกชุมชนในจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันโอกาสการเกิดอาชญากรรม
2. เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดอาชญากรรมในชุมชนแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ
การดำเนินงาน
1.จัดตั้งคณะทำงานและจัดประชุม
2. ประสานงานกับสถานีตำรวจสำเหร่และผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการขออนุญาตใช้พื้นที่ชุมชน คลองพระยาเกษมสาหรับจัดกิจกรรม
3. ดำเนินกิจกรรมหางบประมาณ เพื่อเป็นทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในโครงการ
4. ประชาสัมพันธ์เพื่อ เผยแพร่ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โดยการลงพื้นที่ อาทิ ลงพื้นที่เชิญชวนคนในชุมชน และประชาสัมพันธ์โดยศูนย์กระจายเสียงชุมชน เพื่อให้คนในชุมชน สนใจเข้าร่วมโครงการ
5. กิจกรรมวันลงพื้นที่
-การบรรยายพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรมภายในชุมชน และ Security mind ความสำนึกในการระวังภัย
-ตอบคำถามชิงของรางวัล
-จับกลุ่มสมาชิกชุมชนเพื่อวางแผนการจัดสภาพพื้นที่ภายในชุมชนที่อาจจะเกิดอาชญากรรมได้ในอนาคต
ผลลัพธ์ที่เกิด
1.ผู้เข้าร่วมทั้ง 39 คนในชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเกิดอาชญากรรมในชุมชน และนำความรู้ไปวางแผนเพื่อบริหารจัดการให้ชุมชนมีความปลอดภัย
2.ได้แผนภาพเพื่อแสดงจุดเสี่ยงภายในชุมชนและการวิเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชน